Inspiration
ย้อนกลับไปในยุดสมับก่อน
บ่อยครั้งที่เราจะได้เห็นคีตกวีหลายๆ
ท่านได้แอบสอดแทรกแนวคิดต่างๆ ของพวกเขา
ผ่านบทเพลงที่พวกเขาประพันธ์ หรือแม้แต่ในตัวของผู้เล่น
เราก็ยังสามารถเห็นได้ว่าพวกเขาบางส่วนเองก็มีการ
ใช้วิธีการนำเสนอและสิ่งที่ต้องการจะนำเสนอที่แตกต่างกัน
ออกไปทั้งที่เล่นเพลงเพลงเดียวกัน
นี่เป็นหนึ่งสิ่งที่จุดประการวิธีการนำเสนอของผม
แต่สิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับไอเดียที่ผมต้องการจะนำเสนอบทเพลง " Cantabile" ของ "N.Paganini" โดยคำว่า Cantabile นั้นมีความหมายถึง "เล่นให้เหมือนกับเสียงร้อง"
ซึ่งนั่นก็ทำให้เกิดไอเดียที่ว่า จะเกิดอะไรขึ้น
ถ้าเรานำเสนอบทเพลงโดยจินตนาการว่าพวกมันคือ
เสียงร้องของมนุษย์ไม่ใช่เครื่องดนตรี

Reference
แหล่งงานอ้างอิงไดเ้แก่
- การแสดงเดี่ยวไวโอลิน โดย อธิปไตย พรหมสุรินทร์ - เป็นหนึ่งในงานที่ถ่ายทอดการตีความบทเพลงจากชีวประวัติของผู้แสดง โดยบทเพลง Cantabile ของ N.Paganini เองก็เป็นหนึ่งในโปรแกรมเพลงเช่นกัน
- Form in Beethoven’s Sonata for Violin and Piano, Op. 24 โดย Ceyla Ganioğlu - เป็นการวิเคราะห์ฟอร์มการประพันธ์และความหมายที่ซ่อนเร้นของบทเพลง Spring sonata โดยมีการระบุและวิเคราะห์ทั้งคอร์ดที่ใช้ วิธีการเปลี่ยนคอร์ด ทางเดินเคอร์ด การพัฒนาตัวธีมหลักของเพลงเป็นต้น
- TRANSTIONAL STYLE TRAITS IN BEETHOVEN’S SONATA NO. 5 IN F MAJOR โดย LIPENG CHEN - กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัยโดย่ใช้บทเพลงเป็นเครื้่องมือ และมีการยกตัวอย่างอารมณ์โทนที่ตัวบทเพลงต้องการจะนำเสนอ อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ถึงบางจุดที่มีการเปลี่ยนคีย์ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลกในสมัยนั้น
- Beethoven: Piano and Violin Sonata in F op. 24 ("Spring") โดย Gilead Bar-Elli - วิเคราะห์บทเพลง และมีการเทียบโน๊ตว่ามีความคล้ายคลึงกับบทเพลงใด เช่นท่อนสี่ของเพลงที่ท่วงทำนองมีความคล้ายคลึงกับเพลง piano sonata no. 11 in Bb op. 22 ที่ถูกเแต่งขึ้นปีก่อนหน้า